Thursday, February 24, 2011

น้ำว่านหางจระเข้

ส่วนผสม
เนื้อว่านหางจระเข้ประมาณ 1 ถ้วยตวง (250 กรัม)
น้ำสะอาด 3 ถ้วยตวง
ใบเตยสด 2-3 ใบ
น้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ



วิธีทำ
-
ให้เลือกใบขนาด ใหญ่ที่อยู่ส่วนล่างๆ ของกอว่านสัก 1 ใบมาใช้ก่อน เพราะจะให้วุ้นมากกว่าใบเล็ก ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างให้หมดยาง แล้วนำลงภาชนะเคลือบหรือแก้วทนไฟ
-
เติมน้ำสะอาดประมาณ 3 ถ้วยตวง นำขึ้นต้มด้วยความร้อนปานกลาง
-
ระหว่างรอวุ้นสุก นำใบเตยสดประมาณ 2-3 ใบ มาซอยละเอียดแล้วคั้นด้วยน้ำอุ่นจัด ๆ ให้ได้น้ำใบเตยสดประมาณครึ่งถ้วยตวง
-
เมื่อวุ้นว่านหางจระเข้สุก แล้ว ยกลงตักเฉพาะวุ้นมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำลงเครื่องปั่น พร้อมน้ำใบเตยสด น้ำสุกครึ่งถ้วยตวง และน้ำแข็งเกล็ด ประมาณครึ่งถ้วยตวง อาจเติมน้ำเชื่อมสัก 1 ช้อนโต๊ะ
-
ปั่นสว่นผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน เสิร์ฟทันที ว่านหางจระเข้มีน้ำยาง ที่ทำให้สตรีมีครรภ์ สตรีที่อยู่ระหว่างมีรอบเดือน ผู้ที่เป็นริดสีดวง เกิดอาการแพ้ได้
 


หมายเหตุ : ความโดดเด่นที่รู้กันทั่วไปของว่านหางจระเข้ก็ คือ ว่านทรงคุณค่าชนิดนี้เป็นเสมือนโรงงานอุตสาหกรรมจากธรรมชาติที่เต็มไปด้วย สารเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะจากวุ้นใสๆ ที่อยู่ภายในใบอันยาวหนา ปลายแหลม ซึ่งเต็มไปด้วยสารอล็อคติน อโลอิโมดิน อโลซิน อโลอิน ไกลโคโปรตีน และโพลีซัคคาไรด์ ที่มีฤทธิ์เร่งการจับตัวของเลือดและเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ร่างกาย ใช้ทาเพื่อสมานบาดแผลไฟไหม้ แผลที่เกิดจากความร้อน รังสีเอกซ์ รังสีจากสารกัมมันตรังสี น้ำร้อนลวก แมลงสัตว์กัดต่อย ฟกช้ำ หรือผิวหนังไหม้ที่เกิดจากถูกแดดเผา และยังมีสารบราดิไคนิเนส (Bradykininase) ที่ช่วยดูดพิษเพื่อลดการอักเสบของบาดแผลได้ดียิ่ง มีสารอโลอัลซิน ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์ฮิสตามีน และส่วนรากมีฤทธิ์บรรเทา อาการทางเดินปัสสาวะอักเสบ ยางสีเหลืองจากเปลือก มีสารแอนทราควิโนน ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติ วุ้นจากว่านหางจระเข้ จะช่วยบำรุงร่างกาย บรรเทาความอ่อนเพลีย เนื่องจากพักผ่อนน้อย รวมไปถึงการบำบัดแผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี

แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 52 ตุลาคม 2547

ดูผลิตภัณท์ที่ทำจากว่านหางจระเข้ได้ที่นี่

Monday, February 21, 2011

ว่านหางจระเข้

แหล่งที่มาของว่านหางจระเข้

ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบ อเมริกาใต้  มาดากัสกา  อัฟริกาตะวันออกเฉียงใต้
อยู่ในจำพวกเดียวกับพืชจำพวกลิลลี่ ที่มาของชื่อว่านหางจระเข้
ศัพท์ที่แปลว่า “ขม”  ของภาษาอาราเบียหรือภาษาฮิบรู เนื่องมาจากความขมที่เป็นลักษณะเฉพาะของว่านหางจระเข้ สารประกอบที่ทำให้เกิดความขมนั้นเรียกว่า Aloine

สืบทอดมายังญี่ปุ่น

เข้ามาตั้งแต่สมัย 5 – 600 ปีก่อนหน้านี้ (สมัยคามาคุระ)
ที่มีการใช้เพื่อเป็นสมุนไพร เริ่มตั้งแต่ตอนต้นของสมัยเอโดะ
เส้นทางในการแพร่ขยายพันธุ์นั้นเริ่มตั้งแต่  คิวชู  เซโตะ ไนไค  อิซุ  ชิบะ
และแถบฝั่งทะเลแปซิฟิกเป็นส่วนใหญ่ คาดว่ามีการแพร่มาจากทางตอนใต้มาตามเส้นทางทางทะเลมากกว่าเส้นทางทางบก
ซึ่งในตอนที่เข้ามาจากต่างประเทศจะถูกเรียกว่า “Rokai”

 ชนิดของว่านหางจระเข้

ประเภททั่วโลกนั้น  มีจำนวนมากถึง 300 – 500 ประเภท
อเมริกา อเมริกากลาง และใต้ จะเรียกว่า Aloe vera
ทางอัฟริกาจะเรียกว่า   Cape Aloe  และ  Sokotora Aloe
ทางญี่ปุ่นเราเรียกว่า   Kidachi   Aloe (อ้างอิงตามรูป)
ว่านหางจระเข้จะมีการแพร่ขยายพันธุ์ไปตามสภาพภูมิอากาศ
และภูมิประเทศที่เหมาะสม

 ในด้านของการนำมาใช้เพื่อสุขภาพและความงาม

แหล่งกำเนิดที่สำคัญของ Aloe vera อยู่ใกล้ๆ กับเกาะบัลบาโดสที่ตั้งอยู่ในทะเล คาลิบู มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า
“อะโล บัลบาเดนทิส มิเรอ” มาจากชื่อของเกาะ “อะโล ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากบัลบาโดสที่คุณมิเรอ เป็นผู้ตั้งชื่อให้เมื่อ 200 ปีก่อนหน้านี้
 นักพฤกษศาสตร์ที่มีชื่อว่า รินเนะ เป็นผู้ตั้งให้โดยมาจาก “อโลเวรา รินเนะ” คำว่า vera นั้นมีความหมายว่า “ความจริง”  จึงมีความหมายว่า “Aloe vera ที่แท้จริง”  ช่วงเวลาในการเพาะเลี้ยงนั้นใช้เวลาในการปลูกประมาณ 3 ปี ความยาวของใบประมาณ 80 ซม. กว้างประมาณ 10 ซม. หนาประมาณ 3 ซม. และมีน้ำหนักต่อใบประมาณ 1.5 กิโลกรัม

ที่มา: http://www.hotei.co.th